www.poosook.com
 

ข้อมูลทั่วไป
ประวัติหลวงปู่ศุข
เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร
ข้อเปรียบเทียบระหว่างวัดหัวหาด กับวัดปากคลองมะขามเฒ่า
ชี้ตำหนิพระหลวงปู่ศุข
พระเครื่องหลวงปู่ศุขพิมพ์ต่างๆ

จังหวัดชัยนาท
ประวัติจังหวัดชัยนาท
สถานที่ท่องเที่ยว

Link
uamulet.com
g-pra.com
pralanna.com
prapantip.com
taradpra.com
thaprachan.com
ราชาพระเครื่อง.com
พระเครื่องเมืองชัยนาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เฮียตี๋ ชัยนาท
Tel : 081-8868702
sompong.cnt@gmail.com


แผนที่ร้านเด็กอ่อน (Dek Aon) จ.ชัยนาท

 

 


เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร
ปลุกเสกโดยหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า




เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร พิมพ์น้ำเต้า

    หลวงพ่อธรรมจักร เป็นพระพุทธรูปคู่เมือง ชัยนาทมาแต่โบราณ ประดิษฐานอยู่ใน พระวิหารวัดธรรมมูล ต.ธรรมมูล อ.เมือง จ.ชัยนาท เป็นศิลปะประยุกต์ ช่วงสมัยเชียงแสนตอนปลาย ถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับ สมัยอยุธยา พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประทับยืนบนฐานรูปดอกบัว พระหัตถ์ขวาทรงยกขึ้น เสมอพระอุระหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ สูงประมาณ 4.50 เมตร กลางฝ่าพระหัตถ์ มีรอย "ธรรมจักร" ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระพุทธรูปองค์นี้
    ประวัติ หลวงพ่อธรรมจักร นั้นปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนาน เล่าสืบกันมาแต่โบราณว่า...มีผู้พบพระพุทธรูปลอย น้ำตามแมีน้ำ เจ้าพระยามาพร้อมกัน 3 องค์ ได้แก่ หลวงพ่อโสธร
(วัดโสธรวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา) หลวงพ่อวัดบ้านแหลม (วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม) และ หลวงพ่อธรรมจักร (วัดธรรมมูลวรวิหาร จ.ชัยนาท) บ้างกล่าวว่ามี พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อวัดไร่ขิง ลอยน้ำตามมาด้วย แต่สำหรับ หลวงพ่อธรรมจักร นั้น เมื่อลอยมาถึงบริเวณหน้า วัดธรรมมูล ปรากฏว่า ได้ลอยวนเวียนอยู่ พระภิกษุและชาวบ้าน จึงได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัด โดยนำเชือกพร้อมด้ายสายสิญจน์ผูกกับพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ จนกระทั่งตกเย็นจึงแยกย้ายกันกลับ โดยวางแผนว่าจะมาดึงในวันรุ่งขึ้น ในตอนเช้าวันต่อมา ชาวบ้านต่างแปลกใจ เมื่อไม่พบพระพุทธรูปซึ่งได้ผูกไว้ที่ชายน้ำ ต่างคิดว่าพระพุทธรูปได้หลุดลอยน้ำ ไปแล้วจึงแยกย้ายกันกลับ แต่ปรากฏว่า ในขณะนั้นได้มีผู้พบเห็นพระพุทธรูปองค์ที่ลอยน้ำมานั้น ได้มาประดิษฐานปิดขวางทางเข้าประตูวิหาร วัดธรรมมูล ซึ่งอยู่ที่บริเวณไหล่เขา จึงได้เรียกชาวบ้านที่อยู่ด้านหลังให้ขึ้นไปดู ซึ่งทำให้เกิดความแปลกใจ และความศรัทธา ต่อองค์ หลวงพ่อธรรมจักร จึงร่วมกันต่อเติมพระวิหารออกมาอีกหนึ่งช่วง รวมเป็น 3 ช่วง จากคำบอกเล่า เมื่อองค์หลวงพ่อประดิษฐานอยู่ได้ 3 วัน ก็ได้หายไปจากพระวิหาร และกลับมาประดิษฐานดังเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีโคลน และจอกแหนติดเปื้อนมาด้วย ชาวบ้านจึงนำโซ่มาผูกไว้ เพื่อไม่ให้หลวงพ่อหายไปอีก ต่อมามีชายต่างถิ่นล่องแพมาจากทางเหนือ เพื่อตามหาพระพุทธรูป เมื่อมาถึง วัดธรรมมูล จึงได้พบพระพุทธรูปที่กำลังตามหาอยู่ ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำ ชายผู้นั้นจึงได้อาศัยนอนอยู่ที่วัด เพื่อรอเวลาอัญเชิญองค์หลวงพ่อกลับไปประดิษฐาณ ณ วัดเดิมในเวลาเช้าแต่กลับฝันว่า หลวงพ่อไม่ขอกลับ แต่จะขออยู่ที่วัดธรรมมูลวรวิหาร ครั้นรุ่งเช้า เขาจึงลาท่านสมภารเพื่อเดินทางกลับบ้าน และได้ขอถอดเอา "จักร" ที่ฝ่าพระหัตถ์องค์หลวงพ่อกลับไป นับแต่นั้นมาหลวงพ่อก็ไม่หายไปไหนอีกเลย ชาวบ้านจึงได้นำโซ่ออกและได้ร่วมกันสร้าง "จักร" ขึ้นมาใหม่ โดยจัดงานสมโภชกันต่อเนื่องทุกปีจนถึงทุกวันนี้ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีชาวบ้านมากมายเดินทางมานมัสการ หลวงพ่อธรรมจักร ไม่ขาดระยะ
    ในสมัย ร.ศ.120, 125 และ 127 สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมาทรงสักการะหลวงพ่อถึง 3 ครั้ง ดังมีข้อความปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ ประพาสต้น มีพระราชหัตถเลขาฉบับที่ 8 เดือนตุลาคม ร.ศ.120 ถึง กรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ ความว่า "เวลาเช้า 3 โมงเศษ ถึง ธรรมมูล ขึ้นเขา มีราษฎรอยู่มาก พระวิหารใหญ่หลังคาพังทลายลงทั้งแถบ จำเป็นต้องปฏิสังขรณ์ เมื่อนมัสการพระแจกเสมาราษฎร แล้วลงเรือเดินทางต่อมาอีก" ส่วน พระราชหัตเลขา ฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม ร.ศ.125 ทรงบันทึกว่า "บ่ายสองโมงได้ออกเรือแวะที่โรงทหาร (ที่ตั้งศาลากลางปัจจุบัน) ขึ้นตรวจแถว กลับจากโรงทหารขึ้นมาถึง เขาธรรมมูล 4 โมงครึ่ง ข้ามไปถ่ายรูปที่หาดตรงข้ามจนเย็น จึงเข้าเรี่ยรายปฏิสังขรณ์ศาลา และพระวิหารขึ้นใหม่" อนึ่งในการที่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จมานั้นสันนิษฐานว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ตามเสด็จมาด้วยโดยพบแผ่นจารึกหินอ่อน ที่ด้านบนเสาต้นกลางของซุ้มบันไดที่ติดกับลานพระวิหาร หลวงพ่อธรรมจักร จารึกเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ขนาดของบันได และบุคคลที่ร่วมบริจาค โดยปรากฏพระนามของพระองค์เป็นพระนามแรก ซึ่งทรงบริจาคจำนวน 200 บาท บุคคลที่สำคัญอีกท่านหนึ่งที่ได้เสด็จมานมัสการ หลวงพ่อธรรมจักร คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 เป็นลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึง สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานถวัตติวงศ์ ความตอนหนึ่งว่า "เมื่อปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ. 2453 ขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองเหนือเมื่อฤดูน้ำ ได้พระราชทานกฐินหลวงไปทอดที่ วัดธรรมมูลด้วย หม่อมฉันไปพักแรมอยู่ที่เมืองชัยนาท รุ่งเช้าออกจากเมืองชัยนาท ขึ้นไปบนเขาธรรมมูล" งานประเพณีนมัสการ หลวงพ่อธรรมจักร อันเป็นงานประจำปีนั้น ทางวัดได้กำหนดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือในเดือน 6 ระหว่างวัน ขึ้น 4-8 ค่ำ และในเดือน 11 ระหว่างแรม 4-8 ค่ำ รวมครั้งละ 5 วัน 5 คืน ในงานมีมหรสพสมโภชตามประเพณีนิยมทั่วไป ในอดีต เมื่อมีงานนมัสการคราวใด จะต้องมีงานแข่งเรือในลำน้ำหน้าวัดด้วย แต่ประเพณีนี้ได้ล้มเลิกไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2505 นอกจากนี้ทุกวันแรม 11 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ทางวัดได้จัดให้มีประเพณีตักบาตรเทโวอีกด้วย การเดินทางมานมัสการองค์ หลวงพ่อธรรมจักร สามารถเดินทางได้โดยรถยนต์ ตามถนนพหลโยธินสายเก่า ชัยนาท-นครสวรรค์ เลยจากสี่แยกแขวงการทาง จ.ชัยนาท ประมาณ 8 กิโลเมตร ก็สามารถเห็นเขาธรรมมูล อยู่ทางซ้ายมือโดยมีป้ายชื่อวัดแสดงอยู่ ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนข้ามเขาอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร
     สำหรับเหรียญหลวงพ่อธรรมจักร ได้มีการสร้างกันหลายคราว เป็นการปลุกเสกโดยหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ทุกรุ่นเหรียญที่นิยมกันมากสุดคือรุ่น "พิมพ์น้ำเต้า" เป็นเหรียญหลักหมื่นบาทขึ้นไป ถ้าหากเป็นเนื้อเงินก็เช่าหากันหลายหมื่นบาททีเดียว
     วัดธรรมมูล อยู่ไม่ไกลจากวัดปากคลองมะขามเฒ่ามากนัก ในสมัยนั้นชื่อเสียงของ หลวงปู่ศุข โด่งดังมากการปลุกเสกเหรียญให้เข้มขลังและให้ชาวบ้านสนใจทำบุญกัน จึงต้องอาศัยบารมีของ หลวงปู่ศุข เท่านั้น



 
Copyright © 2006+ Pisit.Net. All rights reserved.
sompong.cnt@gmail.com